เมนู

บทที่เหลือในพระบาลีนี้ง่ายทั้งนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้ายังทรงเทศนาในสูตรแม้นี้ให้วนเวียนอยู่กับ
ภพ 3 แล้ว จดยอด (ให้จบลง) ด้วยอรหัตตผลด้วยประการดังพรรณนา
มาฉะนี้.
เวลาจบเทศนา ภิกษุ 500 รูป ได้บรรลุอรหัตตผลพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย.
จบอรรถกถาปิณโฑลยสูตรที่ 8

9. ปาลิเลยยสูตร



ว่าด้วยการรู้เห็นที่ทำให้สิ้นอาสวะ



[170] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ โฆสิตาราม
ใกล้พระนครโกสัมพี. ครั้งนั้นแล เป็นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงผ้าอันตรวาสก ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังพระนคร
โกสัมพีเพื่อบิณฑบาต. ครั้นเสด็จเที่ยวบิณฑบาตในพระนครโกสัมพี
แล้ว. ในเวลาปัจฉาภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาตแล้ว ทรงเก็บงำ
เสนาสนะด้วยพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร มิได้รับสั่งเรียก
พวกภิกษุที่เป็นอุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาพระภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียว
ไม่มีเพื่อนเสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก.
[171] ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่ง เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จไปแล้วไม่นาน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์จนถึงที่อยู่ ครั้นแล้ว
ได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะท่านพระอานนท์ พระผู้มี-

พระภาคเจ้าทรงเก็บงำเสนาสนะด้วยพระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร
มิได้ทรงรับสั่งเรียกพวกภิกษุที่เป็นอุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์
พระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน เสด็จหลีกไปสู่ที่จาริก. ท่านพระอานนท์
ได้ตอบว่า อาวุโส สมัยใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเก็บงำเสนาสนะด้วย
พระองค์เอง ทรงถือบาตรและจีวร มิได้ทรงรับสั่งเรียกพวกภิกษุที่เป็น
อุปัฏฐาก มิได้ตรัสอำลาภิกษุสงฆ์ พระองค์เดียว ไม่มีเพื่อน เสด็จหลีก
ไปสู่ที่จาริก สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงพระประสงค์ที่จะ
ประทับแต่พระองค์เดียว สมัยนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมเป็นผู้อันใคร ๆ
ไม่พึงติดตาม.
[172] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเที่ยวจาริกไปโดย
ลำดับ เสด็จถึงป่าปาลิเลยยกะ ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่
ณ ควงไม้รังอันเจริญ ในป่าปาลิเลยยกะนั้น ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูป
ด้วยกัน ได้เข้าไปหาท่านพระอานนท์ถึงที่อยู่ ครั้นแล้วต่างก็สนทนา
ปราศรัยกับท่านพระอานนท์ ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกัน
ไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นแล้วได้พากันกล่าวกะท่าน
พระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ นานแล้วที่พวกผมได้สดับธรรมีกถาเฉพาะ
พระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ท่านอานนท์ พวกผมปรารถนาที่จะ
สดับธรรมีกถาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า ลำดับนั้นแล
ท่านพระอานนท์พร้อมกับภิกษุเหล่านั้น พากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ณ โคนไม้รังอันเจริญ ในป่าปาลิเลยยกะ
ครั้นแล้วต่างถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังภิกษุเหล่านั้นให้เห็นแจ้งให้สมาทาน
ให้อาจหาญ ให้ร่าเริงด้วยธรรมีกถา.

[173] ก็โดยสมัยนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เกิดความปริวิตก
แห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลายจึง
สิ้นไปโดยลำดับ ? พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความปริวิตกแห่งใจ
ของภิกษุนั้นด้วยพระทัย จึงตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาตรัสว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสติปัฏฐาน 4
ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงสัมมัปปธาน 4 ด้วยการเลือกเฟ้น แสดง
อิทธิบาท 4 ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงอินทรีย์ 5 ด้วยการเลือกเฟ้น
แสดงพละ 5 ด้วยการเลือกเฟ้น แสดงโพชฌงค์ 7 ด้วยการเลือกเฟ้น
แสดงอริยมรรคมีองค์ 8 ด้วยการเลือกเฟ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราได้แสดงธรรมด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ธรรมอันเราแสดงด้วยการเลือกเฟ้นเช่นนี้ เออก็มีภิกษุบางรูปใน
ธรรมวินัยนี้ ยังเกิดความปริวิตกแห่งใจขึ้นว่า เมื่อบุคคลรู้อย่างไร
เห็นอย่างไรหนอ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ ?
[174] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อบุคคลรู้อย่างไร เห็นอย่างไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไปโดยลำดับ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนใน
โลกนี้ ผู้มิได้สดับแล้ว ไม่ได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลาย ไม่ฉลาดใน
อริยธรรม มิได้รับแนะนำในอริยธรรม ไม่ได้เห็นสัตบุรุษ ไม่ฉลาดใน
สัปปุริสธรรม ไม่ได้รับแนะนำในสัปปุริธรรม ย่อมตามเห็นรูป
โดยความเป็นอัตตา ตูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็น
สังขาร. ก็สังขารนั้น มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุก่อให้เกิดขึ้น
มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด? ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับแล้ว ผู้อันความ
เสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง ปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุ

เกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้น ก็ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่
แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
[175] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย
แต่ว่าตามเห็นอัตตามีรูป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นเป็น
สังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไร
เป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิด
จากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิด
แต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล
แม้สังขารนั้น ก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้นแม้
แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่
แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
[176] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย
ย่อมไม่ตามเห็นอัตตามีรูป แต่ว่าตามเห็นรูปในอัตตา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ
มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นแดนเกิด ?
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้
สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น
แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.

[177] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ย่อม
ไม่ตามเห็นอัตตามีรูป ย่อมไม่ตามเห็นรูปในอัตตา แต่ว่าตามเห็น
อัตตาในรูป. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร
ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็น
ผู้ก่อเกิด มีอะไรเป็นต้นกำเนิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจาก
ตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่
อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล
แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น
แม้เวทนานั้น แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง
อาศัยเหตุเกิดขึ้น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่
อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
[178] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย
ย่อมไม่ตามเห็นอัตตามีรูป ย่อมไม่ตามเห็นรูปในอัตตา ย่อมไม่ตามเห็น
อัตตาในรูป แต่ว่าตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็น
อัตตามีเวทนา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นเวทนาในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็น
อัตตาในเวทนา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสัญญาโดยความเป็นอัตตา แต่ว่า
ตามเห็นอัตตามีสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสัญญาในอัตตา ฯลฯ แต่ว่า
ตามเห็นอัตตาในสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา
ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีในสัญญา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นสังขารโดย
ความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีสังขาร ฯลฯ แต่ว่าตามเห็น
สังขารในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตาในสังขาร ฯลฯ แต่ว่าตามเห็น
วิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตามีวิญญาณ ฯลฯ
แต่ว่าตามเห็นวิญญาณในอัตตา ฯลฯ แต่ว่าตามเห็นอัตตาในวิญญาณ.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็การตามเห็นดังนั้นแลเป็นสังขาร ก็สังขารนั้น

มีอะไรเป็นต้นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุก่อให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด
มีอะไรเป็นต้นกำเนิด สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้นแก่ปุถุชน
มิได้สดับ ผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัสถูกต้องแล้ว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็ไม่เที่ยง
อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น แม้
ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะ
ทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
[179] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ฯลฯ
ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา
ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ แต่ว่าเป็นผู้มีทิฏฐินี้
ว่าอัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็นผู้เที่ยง
ยั่งยืน มั่นคงมีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ก็ทิฏฐิความเห็นว่าเที่ยงเช่นนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ
ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลรู้อยู่แม้อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้
อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
[180] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ฯลฯ
ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา
ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิ
เช่นนี้ว่า อัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็น
เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา แต่ว่าเป็น

ผู้มีทิฏฐิเช่นนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี
บริขารของเรา จักไม่มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ทิฏฐิความเห็นว่าขาดสูญ
เช่นนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไรเป็นเหตุ ฯลฯ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เมื่อบุคคลแม้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะทั้งหลายย่อมสิ้นไป
โดยลำดับ.
[181] ปุถุชนย่อมไม่ตามเห็นรูปโดยความเป็นอัตตาเลย ฯลฯ
ย่อมไม่ตามเห็นเวทนาโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสัญญา
โดยความเป็นอัตตา ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นสังขารโดยความเป็นอัตตา
ฯลฯ ย่อมไม่ตามเห็นวิญญาณโดยความเป็นอัตตา ฯลฯ เป็นผู้ไม่มีทิฏฐิ
เช่นนี้ว่า อัตตาก็อันนั้น โลกก็อันนั้น เรานั้นละโลกนี้ไปแล้วจักเป็น
ผู้เที่ยง ยั่งยืน มั่นคง มีความไม่เปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดา และเป็น
ผู้ไม่มีทิฏฐิเช่นนี้ว่า เราไม่พึงมี และบริขารของเราไม่พึงมี เราจักไม่มี
บริขารของเราจักไม่มี แต่ว่ายังเป็นผู้มีความสงสัย เคลือบแคลง
ไม่แน่ใจในสัทธรรม. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ความเป็นผู้มีความสงสัย
เคลือบแคลง ไม่แน่ใจในสัทธรรมเช่นนั้นเป็นสังขาร ก็สังขารนั้นมีอะไร
เป็นเหตุ มีอะไรเป็นเหตุให้เกิดขึ้น มีอะไรเป็นผู้ก่อเกิด มีอะไร
เป็นต้นกำเนิด. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สังขารนั้นเกิดจากตัณหาที่เกิดขึ้น
แก่ปุถุชนผู้มิได้สดับผู้อันความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่อวิชชาสัมผัส
ถูกต้อง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้แล แม้สังขารนั้นก็
ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่งอาศัยเหตุเกิดขึ้น แม้ตัณหานั้น แม้เวทนานั้น
แม้ผัสสะนั้น แม้อวิชชานั้นก็ไม่เที่ยง อันปัจจัยปรุงแต่ง อาศัยเหตุเกิดขึ้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เมื่อบุคคลแม้รู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ อาสวะ
ทั้งหลายย่อมสิ้นไปโดยลำดับ.
จบ ปาลิเลยยสูตรที่ 9

อรรถกถาปาลิเลยยสูตรที่ 9



พึงทราบวินิจฉัยในปาลิเลยยสูตรที่ 9 ดังต่อไปนี้ :-

ภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะกัน


บทว่า จาริกํ ปกฺกามิ ความว่า ในคราวที่ภิกษุชาวเมือง
โกสัมพีทะเลาะกัน วันหนึ่ง พระศาสดาจึงทรงนำเรื่องของพระเจ้าทีฆี-
ติโกศลมาแล้วตรัสสอนด้วยพระคาถาทั้งหลายมีอาทิว่า
ไม่ว่าในกาลไหนๆ ในโลกนี้ เวรทั้งหลาย
ไม่ (เคย) ระงับด้วยเวรเลย.

วันนั้น เมื่อภิกษุเหล่านั้นกำลังทะเลาะกันอยู่ ราตรีก็สว่างแล้ว
แม้วันที่สองพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสเรื่องนั้นซ้ำอีก. แม้วันนั้น
เมื่อภิกษุเหล่านั้นยังคงทะเลาะกันอยู่เหมือนเดิม ราตรีก็สว่างแล้ว
ถึงวันที่ 3 พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ยังตรัสเรื่องนั้นซ้ำอีกแล.

พระพุทธเจ้าเสด็จจาริกไปองค์เดียว


ครั้นแล้ว ภิกษุรูปหนึ่ง จึงได้กราบทูลกะพระองค์อย่างนี้
ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงขวนขวายน้อย
หมั่นประกอบการประทับอยู่เป็นสุขในปัจจุบันอยู่เถิด ข้าพระองค์
ทั้งหลายจักปรากฏ เพราะความบาดหมาง ทะเลาะวิวาทกันครั้งนี้เอง
พระศาสดาทรงดำริว่า โมฆบุรุษเหล่านี้มีจิตถูกโทสะครอบงำแล้วแล
เราตถาคตไม่สามารถจะไกล่เกลี่ยโมฆบุรุษพวกนี้ให้ยอมกันได้เลย
ดังนี้แล้วทรงดำริ (อีก) ว่า ประโยชน์อะไรของเราตถาคตกับโมฆบุรุษ
เหล่านี้ เราตถาคตจักอยู่ด้วยการเที่ยวจาริกไปคนเดียว.